วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ ชื่อ- ลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์- LARGETOOTH FLOUNDER Pseudorhombus arsius

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปทรงภายนอกดูมนคล้ายใบขนุน ลำตัวด้านข้างแบน ด้านที่มีสีเข็มอยู่ทางซีกซ้ายและมีตาทั้งสองด้านอยู่ด้านเดียวกัน ปากค่อนข้างกว้าง ฟันเล็กแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางเป็นเหลี่ยม ลำตัวทางด้านซ้ายมีสีน้ำตาลปนดำและมีรอยแต้มสีดำอยู่ 2 จุด ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายตามชายฝั่งทะเลทั่วไปตามอ่าวไทย อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน ขนาด ความยาวประมาณ 20 – 30 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาตาหวานจุด ตาโต ตาพอง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ตาหวานจุด ตาโต ตาพอง ชื่อ- ตาหวานจุด ตาโต ตาพอง

ชื่อวิทยาศาสตร์- PURPLE-SPOTTED BIGEYE Priacanthus tayenus

ลักษณะทั่วไป รูปร่างโดยเฉพาะส่วนของลำตัวคล้ายใบมีด ด้านข้างแบน จุดเด่นของปลาตัวนี้อยู่ที่ตาซึ่งมีขนาดใหญ่ จะงอยปากสั้น ปากกว้างและเฉียงขึ้นบน ริมฝีปากบนมีฟันแหลมคมอยู่ 2 -3 แถว มีครีบหางเว้าโค้ง ปลายบนและปลายล่างเงรียวยาวเป็นเส้นรยางค์ ครีบอื่นๆ มีขนาดใหญ่ สีสันของลำตัวเป็นสีแดงปนแสด เกล็ดสีขาวเงินเมื่อถูกแสงสว่างจะเป็นประกาย เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ถิ่นอาศัย หากินตามพื้นทะเล บริเวณที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร พบแพร่กระจายในอ่าวไทย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 15 – 20 ซม. ประโยชน์ เนื้อนิยมทำลูกชิ้น หรือแช่แข็งส่งต่างประเทศ
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาเก๋าแดง

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
เก๋าแดง ชื่อ- เก๋าแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์- RED-BANDED GROUPER Epinephelus fasciatus

ลักษณะทั่วไป รูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม พื้นตัวมีทั้งสีแดงสด สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง พบแพร่กระจายอยู่ตามฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด มีความยาวตั้งแต่ 15 – 40 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง ชื่อ- ลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง

ชื่อวิทยาศาสตร์- INDIAN MACKEREL Rastrelliger kanagurta

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบรวมกลุ่มมีรูปร่างคล้านคลึงกับปลาทูมาก แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ลำตัวยาวเรียว ความยาวของหัวยาวกว่าความกว้างของลำตัว ปากกว้าง นัยน์ตามีเยื่อไขมันปกคลุมอยู่โดยรอบ ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหางเว้าลึกเป็นส้อม พื้นลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียวมีจุดดำ 2 แถวเรียงไปตามแนวสันหลังใต้ฐานครีบหลังมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวของลำตัว บริเวณฐานครีบมีจุดสีดำข้างละจุด ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินแพลงก์ตอน ขนาด ความยาวประมาณ 20 – 25 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาตะลุมพุก

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
ตะลุมพุก ชื่อ- ตะลุมพุก

ชื่อวิทยาศาสตร์- TOLI SHAD Tenualosa toil

ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างคล้ายกระสวย แบนข้าง ส่วนท้องด้านข้างแบน ใต้ท้องเป็นสันคม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันตัว จะงอยปากสั้นทู่ ปากมีขนาดปานกลางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฐานของครีบหลังและครีบก้นมีความยาวเกือบเท่ากัน ครีบหู เล็กเรียวยาว เกล็ดเล็กบางและหลุดง่าย ลำตัวด้านหลังสีเขียวปนน้ำเงิน ท้องสีขาว ถิ่นอาศัย หากินตามชายฝั่งทะเลและบริเวณปากอ่าวในไทย เป็นปลาสองน้ำที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล เป็นปลาสองน้ำที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ในน้ำจืดหรือบรเวณปากน้ำ ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้วแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาที่พบในท้องตลาดนำเข้ามาจากประเทศพม่าและประเทศอินโดนีเซีย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 50 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาเก๋าดอกหางตัด

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
เก๋าดอกหางตัด ชื่อ- เก๋าดอกหางตัด

ชื่อวิทยาศาสตร์- AREOLATED GROUPER Epinephelus areolatus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาเก๋าขนาดใหญ่มีรูปร่างป้อมยาว หัวค่อนข้างใหญ่ ตาโตและอยู่ใกล้ส่วนโค้งของหัวปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันเป็นเขี้ยวแหลมทั้งขากรรไกรบนและล่างมุมขอบกระดูกแก้มเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย มี 3 อัน ครีบหลังยาวมีส่วนของก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนติดเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหางใหญ่และแข็งแรงปลายเว้าเล็กน้อย ครีบอื่นมีขนาดไล่เลี่ยกัน สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดสีส้มรูปหกเหลี่ยมกระจายอยู่ทั่วลำตัว ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหิน แนวปะการังและเกาะแก่ง พบแพร่กระจายอยู่ตามฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย อาหาร กินปลา กุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด มีความยาวตั้งแต่ 20 ซม. ถึง 2.8 เมตร ประโยชน์ เนื้อมีรสดี ราคาแพง ชนชาติจีนในสมัยบรรพกาลเชื่อถือกันว่าเป็นอาหารที่สามารถเสริมสร้างกำลังวังชาได้ชะงัดนัก
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาโรนันจุดขาว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
โรนันจุดขาว ชื่อ- โรนันจุดขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์- WHITE-SPOTTED SHOVELNOSE RAY Rhynchobatus djiddens

ลักษณะทั่วไป เป็นปลากระดูกอ่อน ลักษณะคล้ายปลาฉลามจะงอยปากเรียวแหลม ส่วนของหัวอยู่ถัดเข้ามาเชื่อมกับครีบหู เป็นรูปสามเหลี่ยม ท่อนหางยาวกลม นัยน์ตาโตช่องน้ำเข้าออกอยู่หลังตา จมูกอยู่เหนือช่องปาก ฟันมีขนาดใหญ่เชื่อมติดต่อกันเป็นแผ่นเดียว ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกอยู่ตรงกับครีบท้องครีบอันที่สองมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ถัดไปทางหาง ครีบหูกว้างใหญ่แนบลำตัว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำอยู่ระหว่างครีบหูและมีจุดขาวกระจายอยู่บนก้านหลังลำตัว ถิ่นอาศัย อยู่ตามพื้นทะเลหากินอยู่ตามชายฝั่ง พบทั่วไปในอ่าวไทย อาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ขนาด ความยาวประมาณ 60 – 180 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ