วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ ชื่อ- ลิ้นควายเกล็ดลื่น ใบขนุน ลิ้นเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์- LARGETOOTH FLOUNDER Pseudorhombus arsius

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปทรงภายนอกดูมนคล้ายใบขนุน ลำตัวด้านข้างแบน ด้านที่มีสีเข็มอยู่ทางซีกซ้ายและมีตาทั้งสองด้านอยู่ด้านเดียวกัน ปากค่อนข้างกว้าง ฟันเล็กแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางเป็นเหลี่ยม ลำตัวทางด้านซ้ายมีสีน้ำตาลปนดำและมีรอยแต้มสีดำอยู่ 2 จุด ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายตามชายฝั่งทะเลทั่วไปตามอ่าวไทย อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน ขนาด ความยาวประมาณ 20 – 30 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาตาหวานจุด ตาโต ตาพอง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ตาหวานจุด ตาโต ตาพอง ชื่อ- ตาหวานจุด ตาโต ตาพอง

ชื่อวิทยาศาสตร์- PURPLE-SPOTTED BIGEYE Priacanthus tayenus

ลักษณะทั่วไป รูปร่างโดยเฉพาะส่วนของลำตัวคล้ายใบมีด ด้านข้างแบน จุดเด่นของปลาตัวนี้อยู่ที่ตาซึ่งมีขนาดใหญ่ จะงอยปากสั้น ปากกว้างและเฉียงขึ้นบน ริมฝีปากบนมีฟันแหลมคมอยู่ 2 -3 แถว มีครีบหางเว้าโค้ง ปลายบนและปลายล่างเงรียวยาวเป็นเส้นรยางค์ ครีบอื่นๆ มีขนาดใหญ่ สีสันของลำตัวเป็นสีแดงปนแสด เกล็ดสีขาวเงินเมื่อถูกแสงสว่างจะเป็นประกาย เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ถิ่นอาศัย หากินตามพื้นทะเล บริเวณที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร พบแพร่กระจายในอ่าวไทย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 15 – 20 ซม. ประโยชน์ เนื้อนิยมทำลูกชิ้น หรือแช่แข็งส่งต่างประเทศ
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาเก๋าแดง

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
เก๋าแดง ชื่อ- เก๋าแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์- RED-BANDED GROUPER Epinephelus fasciatus

ลักษณะทั่วไป รูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม พื้นตัวมีทั้งสีแดงสด สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง พบแพร่กระจายอยู่ตามฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด มีความยาวตั้งแต่ 15 – 40 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง ชื่อ- ลัง ทูโม่ง โม่ง โม่ง โม่งลัง

ชื่อวิทยาศาสตร์- INDIAN MACKEREL Rastrelliger kanagurta

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบรวมกลุ่มมีรูปร่างคล้านคลึงกับปลาทูมาก แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ลำตัวยาวเรียว ความยาวของหัวยาวกว่าความกว้างของลำตัว ปากกว้าง นัยน์ตามีเยื่อไขมันปกคลุมอยู่โดยรอบ ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหางเว้าลึกเป็นส้อม พื้นลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียวมีจุดดำ 2 แถวเรียงไปตามแนวสันหลังใต้ฐานครีบหลังมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวของลำตัว บริเวณฐานครีบมีจุดสีดำข้างละจุด ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินแพลงก์ตอน ขนาด ความยาวประมาณ 20 – 25 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาตะลุมพุก

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
ตะลุมพุก ชื่อ- ตะลุมพุก

ชื่อวิทยาศาสตร์- TOLI SHAD Tenualosa toil

ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างคล้ายกระสวย แบนข้าง ส่วนท้องด้านข้างแบน ใต้ท้องเป็นสันคม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันตัว จะงอยปากสั้นทู่ ปากมีขนาดปานกลางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฐานของครีบหลังและครีบก้นมีความยาวเกือบเท่ากัน ครีบหู เล็กเรียวยาว เกล็ดเล็กบางและหลุดง่าย ลำตัวด้านหลังสีเขียวปนน้ำเงิน ท้องสีขาว ถิ่นอาศัย หากินตามชายฝั่งทะเลและบริเวณปากอ่าวในไทย เป็นปลาสองน้ำที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล เป็นปลาสองน้ำที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ในน้ำจืดหรือบรเวณปากน้ำ ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้วแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาที่พบในท้องตลาดนำเข้ามาจากประเทศพม่าและประเทศอินโดนีเซีย อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 50 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาเก๋าดอกหางตัด

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
เก๋าดอกหางตัด ชื่อ- เก๋าดอกหางตัด

ชื่อวิทยาศาสตร์- AREOLATED GROUPER Epinephelus areolatus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาเก๋าขนาดใหญ่มีรูปร่างป้อมยาว หัวค่อนข้างใหญ่ ตาโตและอยู่ใกล้ส่วนโค้งของหัวปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันเป็นเขี้ยวแหลมทั้งขากรรไกรบนและล่างมุมขอบกระดูกแก้มเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย มี 3 อัน ครีบหลังยาวมีส่วนของก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนติดเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหางใหญ่และแข็งแรงปลายเว้าเล็กน้อย ครีบอื่นมีขนาดไล่เลี่ยกัน สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดสีส้มรูปหกเหลี่ยมกระจายอยู่ทั่วลำตัว ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหิน แนวปะการังและเกาะแก่ง พบแพร่กระจายอยู่ตามฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย อาหาร กินปลา กุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด มีความยาวตั้งแต่ 20 ซม. ถึง 2.8 เมตร ประโยชน์ เนื้อมีรสดี ราคาแพง ชนชาติจีนในสมัยบรรพกาลเชื่อถือกันว่าเป็นอาหารที่สามารถเสริมสร้างกำลังวังชาได้ชะงัดนัก
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาโรนันจุดขาว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
โรนันจุดขาว ชื่อ- โรนันจุดขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์- WHITE-SPOTTED SHOVELNOSE RAY Rhynchobatus djiddens

ลักษณะทั่วไป เป็นปลากระดูกอ่อน ลักษณะคล้ายปลาฉลามจะงอยปากเรียวแหลม ส่วนของหัวอยู่ถัดเข้ามาเชื่อมกับครีบหู เป็นรูปสามเหลี่ยม ท่อนหางยาวกลม นัยน์ตาโตช่องน้ำเข้าออกอยู่หลังตา จมูกอยู่เหนือช่องปาก ฟันมีขนาดใหญ่เชื่อมติดต่อกันเป็นแผ่นเดียว ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกอยู่ตรงกับครีบท้องครีบอันที่สองมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ถัดไปทางหาง ครีบหูกว้างใหญ่แนบลำตัว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำอยู่ระหว่างครีบหูและมีจุดขาวกระจายอยู่บนก้านหลังลำตัว ถิ่นอาศัย อยู่ตามพื้นทะเลหากินอยู่ตามชายฝั่ง พบทั่วไปในอ่าวไทย อาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ขนาด ความยาวประมาณ 60 – 180 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม โคก มักคา

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ตะเพียนน้ำเค็ม โคก มักคา ชื่อ- ตะเพียนน้ำเค็ม โคก มักคา

ชื่อวิทยาศาสตร์- CHACUNDA GIZZARD-SHAD Anodontostoma chacunda

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำกร่อยที่มีรูปร่างคล้ายกับปลาตะเพียนน้ำจืด ลำตัวป้อมสั้นจะงอยปากสั้นทู่ ตามีเยื่อไขมันหุ้ม ปากเล็ก ท้องแบนเป็นสันคมซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนรูปของเกล็ดไปทำหน้าที่ในการป้องกันตัว ครีบหางเว้าลึก ครีบอื่นๆมีขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านหลังมีสีดำปนเทา ทางด้านท้องสีขาวเงิน หลังช่องเปิดเหงือกมีจุดสีดำข้างละจุด ถิ่นอาศัย อยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นที่หน้าดินตามชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั่วไปในอ่าวไทย อาหาร กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อย ขนาด ความยาวประมาณ 14 – 20 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสอร่อยแต่มีก้างฝอยมาก
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลากุแลกล้วย ลูกกล้วย

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
กุแลกล้วย ลูกกล้วย ชื่อ- กุแลกล้วย ลูกกล้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์- RAINBOW SARDINE Dussumieria elopsoides

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก รูปร่างยาวเพรียว หัวเรียว หางเรียว ท้องกลม หัวเล็ก นัยน์ตาโตอยู่กึ่งกลางระหว่างช่องเปิดเหงือกและปลายจมูก เกล็ดมีขนาดเล็ก บาง หลุดง่าย ครีบหลังอยู่กึ่งกลางตัว ครีบหางใหญ่เป็นแฉกลึก ครีบอกมีแผ่นกระดูกรูปตัวดับเบิลยู (W) ข้างละอัน และแนวสันหลังเป็นสีน้ำเงินเข้ม ท้องสีขาว ข้างตัวมีเส้นสีเหลืองทอง พาดตามความยาว ถิ่นอาศัย หากินบนผิวน้ำกลางทะเล พบชุกชุมในอ่าวไทย อาหาร กินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 10 – 15 ซม. เคยพบมีความยาวถึง 20 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสดี ใช้ทำปลากระป๋อง
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาอินทรีบั้ง เบกา

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
อินทรีบั้ง เบกา ชื่อ- อินทรีบั้ง เบกา

ชื่อวิทยาศาสตร์- SPANISH MACKEREL Scomberomorus commersoni

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาผิวน้ำที่อยู่รวมกันเป็นฝูง มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลาอินทรีจุด แต่ลำตัวค่อนข้างกลมและหนากว่า ด้านข้างลำตัวจะมีแถบสีดำหรือเทาเข้มเป็นบั้งๆ ขวางลำตัวเริ่มจากแนวฐานครีบหูเรื่อยออกไปเกือบจรด โคนครีบหาง จะเห็นบั้งได้ชัดตรงบริเวณแนวเส้นข้างตัว อินทรีบั้งตัวโตจะมีบั้งมากกว่าตัวเล็ก ถิ่นอาศัย พบทั่วไปในอ่าวไทยทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก และทางฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากระตัก หลังเขียว และหมึก ขนาด ที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30 -70 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร ประโยชน์ เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นิยมใช้ทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกว่าปลาเค็มที่ทำจากปลาชนิดนี้ว่า “ เบกา ”
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาริวกิว เลียวเซียว ลู่ทู่

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ริวกิว เลียวเซียว ลู่ทู่ ชื่อ- ริวกิว เลียวเซียว ลู่ทู่

ชื่อวิทยาศาสตร์- GIANT CATFISH Arius thalassinus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดจัดอยู่ในประเภทปลากดทะเล มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลาแขยงน้ำจืด แต่มีขนาดใหญ่มากกว่า ลำตัวยาวและค่อยข้างกลม หางแบนข้างและหัวใหญ่ ด้านหลังตรงหัวเป็นกระดูกแข็ง หน้าแหลม จะงอยปากยาว ปากกว้าง ฟันมีขนาดเล็กและสั้น มีหนวดใต้คาง 2 คู่และริมฝีปากบน 1 คู่ ครีบหลังและครีบหูมีเงี่ยงเป็นหนามแหลมครีบละหนึ่งอัน ครีบไขมันเล็กอยู่ใต้โคนหาง ครีบหางเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวนวล ครีบต่าง ๆ สีเทาคล้ำ ครีบไขมันสีดำ ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามดินเป็นโคลน โคลนเหลว บางครั้งพบในบริเวณปากแม่น้ำ พบทั้งอ่าวไ-ทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดิน ขนาด พบทั่วไปมีความยาวถึง 1.20 เมตร ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดีและทำเป็นปลาเค็ม
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลาตะคองเหลือง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ตะคองเหลือง ชื่อ- ตะคองเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์- GOLDEN TOOTHLESS TREVALLY Gnathanodon speciosus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาหางแข็งประเภทหนึ่ง ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะลำตัวค่อนข้างไปทางยาวแบนคล้ายรูปขนมเปียกปูนจะงอยปากมน ปากกว้าง ไม่มีฟัน เกล็ดเล็ก บริเวณใต้ครีบอกไม่มีเกล็ด หางยาวใหญ่เว้าลึก ครีบหูยาวและโค้งเป็นรูปเดียว ลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเหลือง และจะค่อยๆจางเป็นสีขาวที่บริเวณส่วนท้อง มีแถบสีดำพาดกลางลำตัว ถิ่นอาศัย พบอยู่ตามหน้าดินและบริเวณกองหินใต้น้ำหรือตามพื้นท้องทะเลที่เป็นโคลน โคลนปนทรายและหินทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน ขนาด ความยาวประมาณ 90 – 120 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลากุเราสี่เส้น

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
กุเราสี่เส้น ชื่อ- กุเราสี่เส้น

ชื่อวิทยาศาสตร์- FOURFINGER THREADFIN Eleutheronema tetradactylum

ลักษณะทั่วไป รูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ตามีเยื่อไขมันปกคลุมและอยู่ใกล้ปลายจะงอย ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย และมีฟันแหลมคม ลักษณะเด่นคือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกออกเป็นเส้นรยางค์ 4 เส้น ซึ่งชาวบานเรียกกันว่าหนวด มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลำตัวที่อยู่แนวสันหลังสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัดลงมาสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลาย ครีบอื่น ๆ สีเหลือง ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้าอยู่ในน้ำกร่อย พบทั่วไปในอ่าวไทย อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน ขนาด โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 40 – 60 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 2 เมตร ประโยชน์ เนื้อรสชาติดีเลิศเมื่อนำมาทำปลาเค็ม
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาอินทรีจุด อินทรีลายข้าวตอก

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
อินทรีจุด อินทรีลายข้าวตอก ชื่อ- อินทรีจุด อินทรีลายข้าวตอก

ชื่อวิทยาศาสตร์- INDO – PACIFIC SPANISH MACKEREL Scomberomorus gutt

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาผิวน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าปลาอินทร์อื่น ๆ รูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมปากกว้าง ปลายจะงอยปากแหลม ฟันแหลมคม ครีบหลังแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นก้านครีบแข็งส่วนหลังมีลักษณะเช่นเดียวกับครีบก้น คือเริ่มด้วยก้านครีบอ่อนแล้วตามด้วยครีบฝอย ครีบหูและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางใหญ่ ปลายเว้าลึกเป็นรูปวงเดือน ข้างตัวมีจุดสีดำหรือสีเทาแบบลายข้าวตอกที่ลำตัวส่วนบน อยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำรวดเร็ว ถิ่นอาศัย อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ พบทั่วไปในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกตั้งแต่ชงบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ทางฝั่งตะวันตกตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานีนอกจากนี้ยังพบทางด้านทะเลอันดามันอีกด้วย อาหาร กินปลาฝิวน้ำและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวตั้งแต่ 40 – 55 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลายอดจากหูยาว

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ยอดจากหูยาว ชื่อ- ยอดจากหูยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์- YELLOW PINK-CONGER Congresox talabon

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาซึ่งมีขนาดและรูปร่างใหญ่กว่าปลาไหลชนิดอื่น ลำตัวยาวค่อนข้างกลม ไม่มีเกล็ดส่วนหางแบน ส่วนหัวเรียวแหลม ปากกว้าง ขากรรไกรยาวยื่นเลยนัยน์ตา ไม่มีริมฝีปาก ตาค่อยข้างเล็ก ฟันค่อนข้างใหญ่เป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีฟันซี่ละเอียดประมาณ 3 แถวอยู่บนขากรรไกรล่าง ฟันบนเพดานในแถวกลางมีลักษณะแหลมคม ครีบหลังและครีบหางเรียงต่อกันออกไปจนสุดโดนหาง ครีบหูค่อนข้างใหญ่ บริเวณหัวและลำตัวมีสีเหลือง ด้านท้องมีสีขาว ครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ถิ่นอาศัย ส่วนใหญ่พบทั้งในบริเวณปากแม่น้ำ ชายฝั่งและบริเวณที่มีระดับน้ำทะเลลึกถึง 100 เมตร ทางภาคตะวันออกและชายฝั่งอ่าวไทยภาคใต้ พบมากที่สุดจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดสงขลา อาหาร กินเนื้อสัตว์ และซากสัตว์น้ำอื่นๆ ขนาด ความยาวประมาณ 60 – 80 ซม. ประโยชน์ เป็นอาหารที่มีราคาแพง สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายประเภท
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลาดุกทะเล ปิ่นแก้ว เป็ดแก้ว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
ดุกทะเล ปิ่นแก้ว เป็ดแก้ว ชื่อ- ดุกทะเล ปิ่นแก้ว เป็ดแก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์- STRIPED SEA CATFISH Plotosus lineatus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีลักษณะตัวเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็ง (เงี่ยง) มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลม ครีบหลังอันที่สอง คีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ คือปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว ถิ่นอาศัย ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืด แพร่กระจายทั่วอ่าวไทย อาหาร กินทั้งพืชและสัตว์ ขนาด ความยาวประมาณ 40- 60 ซม. ประโยชน์ ใช้เป็นอาหารเนื้อมีรสชาติดีนิยมมาทำอาหารประเภทรสจัดเพราะมีกลิ่นค่อนข้างคาว
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะรังแดงจุดฟ้า กุดสลาก

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
กะรังแดงจุดฟ้า กุดสลาก ชื่อ- กะรังแดงจุดฟ้า กุดสลาก

ชื่อวิทยาศาสตร์- BLUE-SPOTTED SEA BASS Plectropomus maculates

ลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย ปากกว้าง ขากรรไกรบนยื่นยาวเลยหลังตา กระดูกแก้มอันแรกหยักเป็นซี่ละเอียด มีหนามด้านล่าง 3 อัน สีตามลำตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกว่ากันมากตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน เขียวมะกอกจนถึงสีแดงสด ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล มีจุดสีฟ้าเล็ก ๆ รูปไข่ขอบสีดำ ส่วนท้องมีสีจางลงมา ครีบทุกครีบมีจุดสีฟ้ากระจายทั่วไป (ยกเว้นครีบหู) ถิ่นอาศัย พบตามกองหินปะการัง แนวปะการังที่มีน้ำขึ้นลงต่ำสุด อาหาร กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 50 – 80 ซม. ประโยชน์ ปลาเศรษฐกิจที่มีราคาค่อนข้างแพง เนื่องจากสามารถส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ทั้งในรูปลูกปลาและปลาแช่แข็ง เนื้อมีรสเป็นเลิศ นำมาทำอาหารได้หลายประเภท
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาอานม้า สลิดหิน

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
อานม้า สลิดหิน ชื่อ- อานม้า สลิดหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์- DAMSEL FLSH Dascyllus aruanus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างสั้นป้อม ลำตัวแบนข้าง แนวสันหลังและหัวโค้งนูน หน้าสั้นปากเล็กและอยู่ปลายสุด ริมฝีปากหนา มีฟันเล็กและแหลมคมอยู่บนขากรรไกร นัยน์ตาค่อนข้างเล็กอยู่ใกล้แนวส่วนโค้งของหน้า กระดูกขอบตาและกระดูกแก้มอันหน้าขอบหยักเป็นจักร ช่องเหงือกกว้าง ครีบหลังโค้งไปตามแนวสันหลัง ส่วนปลายแผ่กว้างจรดคอดหาง ครีบท้องมีขนาดใหญ่อยู่ใกล้กับครีบหู ครีบก้นสูง ครีบหางเว้าเป็นแฉก พื้นลำตัวสีฟ้าแกมขาว มีแถบขนาดใหญ่สามแถบที่หัวลำตัวและโคนหาง ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามแนวปะการังและชายทะเลที่มีดอกไม้ทะเล พบในอ่าวไทย อาหาร กินสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 65-8 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลาแมวหัวแหลม

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
แมวหัวแหลม ชื่อ- แมวหัวแหลม

ชื่อวิทยาศาสตร์- MOUSTACHED THRUSSA Thryssa mystax

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ปากกว้างขากรรไกรรบนยื่นยาวออกถึงฐานครีบหู นัยน์ตาโตอยู่ใกล้กับปาก ท้องเป็นสันคม ซึ่งเกิดจากเกล็ดที่แข็งเรียงตัวกันเป็นแถว ครีบก้นยาว ครีบหางเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวสีน้ำเงินปนดำท้องสีขาวเงินและมีจุดสีดำอยู่หลังช่องเปิดเหงือกข้างละจุด ครีบทุกครีบสีเหลืองอมเขียว ถิ่นอาศัย พื้นท้องทะเลตื้น ๆ เช่น จังหวัดจันทบุรี ระยอง สมุทรปราการ ทางชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตจังหวัดภูเก็ต ระนอง อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลง ขนาด ความยาวประมาณ 16 – 18 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาดาบเงินใหญ่

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ดาบเงินใหญ่ ชื่อ- ดาบเงินใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์- LARGEHEAD HAIRTAIL Trichiurus lepturus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเล ลำตัวแบนเรียวยาว มีลักษณะคล้ายแถบริบบิ้น ไม่มีเกล็ด ปากล่างยื่นย่าวล้ำปากบน หางเรียวยาวปลายแหลม แผ่นปิดเหงือกมีปลายเป็นมุมแหลม ๆ อยู่แนวเดียวกับครีบหู ครีบท้องครีบหางไม่มี ฟันเป็นเขี้ยวยาวโค้งออกมานอกปาก ถิ่นอาศัย แพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้นและปากแม่น้ำ อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 40 -50 ซม. ประโยชน์ นำมาแปรรูป เช่า ทำลูกชิ้น ทำเค็มและตามแห้งเป็นอาหาร
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงแสม ครืดคราด ออดแอด

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
กะพงแสม ครืดคราด ออดแอด ชื่อ- กะพงแสม ครืดคราด ออดแอด

ชื่อวิทยาศาสตร์- LINED SILVER GRUNT Pomadasys kaakan

ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากะพงขาว แต่ลำตัวป้อมสั้นกว่า หัวป้อม จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาโต ปากเล็ก มีฟันที่แข็งแรงเรียงกันเป็นแถบ ขากรรไกรบนยาวกว่าขากรรไกรล่างขอบกระดูกแก้มมีขอบหยักคล้ายฟันเลื่อย บริเวณใต้คางมีร่อง 4 ร่อง ลำตัวมีสีขาวอมเทา ด้านหลังมีจุดสีน้ำตาลอมดำเรียงเป็นแถวพาดไปตามความยาวลำตัวประมาณ 4 – 5 แถว ครีบหลังมีจุดสีน้ำตาลเรียงต่อกันเป็นเส้นเล็ก ๆ 2 – 3 เส้น ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย อาหาร กินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดิน ขนาด โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 20 – 65 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาเหลืองโพรง กล้วยเกาะ กล้วยจรวด

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
เหลืองโพรง กล้วยเกาะ กล้วยจรวด ชื่อ- เหลืองโพรง กล้วยเกาะ กล้วยจรวด

ชื่อวิทยาศาสตร์- RAINBOW RUNNER Elagatis bipinnulatuus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาฝิวน้ำซึ่งมีรูปร่างคล้ายรูปกระสวย ลำตัวยาวและค่อนข้างกลม หัวเล็ก ปากยาวแหลม นัยน์ตากลมโต ปากกว้างและอยู่ปลายสุด ฟันเล็กละเอียดอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง เกล็ดเล็กครีบหลังมีสองอัน อันที่สองยาวใกล้เครียงกับครีบก้น ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีครีบฝอยเป็นกระจุกเล็กที่ปลายครีบหลังและครีบก้น ครีบหูและครีบท้องมีปลายเรียวแหลม ครีบหางเว้าลึกปลายแยกเป็นแฉก เป็นลักษณะประจำตัวของปลาที่ว่ายน้ำเร็ว พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีขาวเงินข้างลำตัวมีแถบสีน้ำเงินอ่อน 2 แถบ ขนานคู่กับแถบสีเหลือง ถิ่นอาศัย พบในบริเวณข้างเกาะและทะเลเป็ดทั่วไป อยู่โดดเดี่ยวไม่รวมฝูง อาหาร กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 100 – 20 ซม. ประโยชน์ นิยมในหมู่นักกีฬาตกปลา เนื้อใช้ปรุงอาหารได้ดี
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลามงแซ่ ผมนาง

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
มงแซ่ ผมนาง ชื่อ- มงแซ่ ผมนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์- LONGFIN CAVALLA Carangoides hedlandensis

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลซึ่งมีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวโต หน้าสั้น สันหัวโค้งนูน นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเล็กและสั้นมาก ครรีบหลังมีสองอัน อันแรกมีขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมอันที่สองมีปลายครีบยาวออกเป็นเส้นเดียวประมาณ 7 อัน ครีบก้นส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีลักษณะเช่นเดียวกับครีบหลังอันที่สอง และมีหนามแหลมสั้นๆ 2 อัน อยู่หน้าครีบก้น ครีบหูเรียวเป็นรูปเคียว ครีบหางป็นแฉกลึก มีเกล็ดแข็งอยู่บริเวณโคนหางพื้นลำตัวสีขาว มีเหลืองอ่อนตามแนวเส้นข้างตัว ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกมีแถบสีดำเล็กๆ อยู่ข้างละแถบ ครีบหางสีเหลืองจัด ครีบอื่นๆ สีน้ำตาวจางๆ ถิ่นอาศัย พบทั่วไปในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 20 – 65 ซม. ประโยชน์ ใช้ปรุงเป็นอาหาร
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาดาบลาวยาว

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ดาบลาวยาว ชื่อ- ดาบลาวยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์- DORAB WOLF-HERRING Chirocentrus dorab

ลักษณะทั่วไป ลำตัวเรียวยาวและมีทรวดทรงแบนมาก ปากมีลักษณะเฉียงขึ้นข้างบน มีฟันเขี้ยวคู่หน้าใหญ่และคมมากเขี้ยวคู่นี้จะยื่นเลยริมฝีปาก สันื้องไม่มีหนาม ครีบหางเว้าลึกครีบหลังมีรอยแต้มสีดำลำตัวสีน้ำเงินเข้มปนเหลือง ท้องสีเงิน ถิ่นอาศัย ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลจนถึงทะเลเปิด หากินตามผิวน้ำ อาหาร กินกุ้ง หอย ปู ปลา ขนาด ความยาวประมาณ 30-50 ซม. ประโยชน์ ทำลูกชิ้นปลา มีรสชาติดี
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงปานข้างลาย

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
กะพงปานข้างลาย ชื่อ- กะพงปานข้างลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์- RUSSELL’S SNAPPER Lutjanus russelli

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลากะพงแดง เท่าที่สำรวจพบในบ้านเราทั้งหมด 25 ชนิด ปลากะพงปานข้างลายมีลำตัวยาว ด้านข้างแบน หัวค่อนข้างโต ปากแหลมนัยน์ตาโต ปากกว้าง มีฟันแหลมคมทั้งขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังมีฐานยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และปลายเว้าเล็กน้อย สีของลำตัวเป็นสีแดงปนน้ำตาลหรือสีขาวเงิน มีเส้นสีแดงปนน้ำตาลจำนวน 8 เส้น พาดผ่านและโค้งไปตามแนวลำตัว บริเวณโคนหางมีปานดำขนาดสะดุดตาอยู่ข้างละหนึ่งแห่ง ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามเกาะ กองหินปะการัง บริเวณชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 16 – 42 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสอร่อย นับเป็นอาหารที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างแพร่หลาย
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาเหลืองปล้องหม้อ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
เหลืองปล้องหม้อ ชื่อ- เหลืองปล้องหม้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์- BLUE AND GOLD FUSILIER Caesio caerulaurea

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่อยู่ระดับกลางน้ำ ลำตัวยาว หางเรียวยาว แบนข้าง หัวป้อม จะงอยปากสั้น นัยน์ตาค่อนข้างโต มีเยื่อไขมันปกคลุม ปากแคบและเฉียงขึ้น มีฟันเล็กและแหลมคม เกล็ดเล็ก ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหูและครีบท้องมีขนาดใกล้เคียงกันและมีปลายแหลม ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกลึก ปลายแฉกเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินปนเขียว ท้องสีขาวเงิน ด้านข้างมีแถบสีเหลืองด้านละแถบ ครีบหลังมีขอบสีเทาเข้ม ฐานครีบหูมีแต้มสีดำข้างละหนึ่งจุด มีแถบสีดำอยู่ด้านในของแฉกหางทั้งสองอัน ถิ่นอาศัย อยู่รวมกันเป็นฝูงตามกองหินใต้น้ำ ข้างเกาะที่เป็นน้ำใส พื้นท้องทะเลที่เป็นหิน ปะการัง ทรายและที่มีความเค็มของน้ำทะเลสูง อาหาร กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 18 – 30 ซม. ประโยชน์ ใช้เป็นอาหาร
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาม่งกลม สีกุนกลม

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ม่งกลม สีกุนกลม ชื่อ- ม่งกลม สีกุนกลม

ชื่อวิทยาศาสตร์- BAREBREAST JACK Carangoides gymnostethus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลอยู่ในวงเดียวกันกับปลาหางแข็ง แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปจากพวกเดียวกันคือ ลำตัวเกือบกลม หัวโต จะงอยปากยาว ปากกว้าง ฟันเป็นแถบเล็กละเอียด นัยน์ตาโต เกล็ดเล็กบริเวณใต้ครีบหูไม่มีเกล็ด ครีบหลังแบ่งออกเป็นสองอัน มีฐานเชื่อมติดกันครีบก้นแยกออกเป็นสองส่วน อันแรกมีก้านครีบแข็งเพียง 2 – 3 ก้าน คอดหางเล็กเรียว ครีบหูยาวเรียวคล้ายเคียวครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดบนเส้นข้างตัวบริเวณหางเป็นสันแข็งคมพื้นลำตัวสีเหลืองแกมเทา หลังสีฟ้า ท้องสีขาวครีบต่างๆ สีฟ้า ปลายครีบหางสีเทาเข็ม ถิ่นอาศัย อยู่ในแถบชายฝั่งพบทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 25 – 90 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือทำเป็นปลาเค็ม
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาดอกหมากครีบยาว แป้นแก้ว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
ดอกหมากครีบยาว แป้นแก้ว ชื่อ- ดอกหมากครีบยาว แป้นแก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์- LONGFIN MOJARRA Pentaprion longimanus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลลำตัวกว้าง ด้านบนแบน นัยน์ตาโต ปากยืดหดได้ มีเกล็ดเล็กหลุดง่าย ลำตัวใส มีสีขาวอมเหลืองอ่อน ๆ ครีบต่าง ๆ จะมีก้านครีบแข็งต่อด้วยก้านครีบอ่อน ครีบหลังและครีบก้นยาวจรดโคนหาง ครีบหางเว้าลึก ถิ่นอาศัย พื้นท้องทะเล บริเวณอ่าวไทยและอันดามัน เช่น ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ภูเก็ต ระนอง อาหาร กินสิ่งมีชีวิตในน้ำและพืชน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 7 – 11 ซม. ประโยชน์ ใช้บริโภคและทำอาหารสัตว์
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงแดงสั้นหางปาน

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
กะพงแดงสั้นหางปาน ชื่อ- กะพงแดงสั้นหางปาน

ชื่อวิทยาศาสตร์- MALABAR RED SNAPPER Lutjanus malabaricus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำเค็ม ซึ่งมีลำตัวค่อนข้างป้อมสัน ด้านข้างแบน หางยาว หัวโต นัยน์ตามีขนาดใหญ่ จะงอยปากสั้น ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงติดกันเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีขอบปลายเว้าขึ้นลงตามความสูงต่ำของก้านครีบ ครีบก้นอยู่ใกล้กับหาง ครีบหูและครีบท้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางใหญ่และลำตัวตรง พื้นลำตัวด้านบนสีแดงหรืออมชมพูแดง ท้องสีเหลืองจาง ๆ เหมือนเส้นข้างตัวมีเส้นสีเหลืองจางพาดเฉียงขึ้น ถิ่นอาศัย หากินอยู่บริเวณหน้าดิน ตามแนวปะการังในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลา กุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 30 – 60 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 1 เมตร ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ดี
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาเห็ดโคนจุด ซ่อนทราย

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
เห็ดโคนจุด ซ่อนทราย ชื่อ- เห็ดโคนจุด ซ่อนทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์- SILLAGO TRUNPETER SILLAGE Sillago maculate

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างค่องข้างกลมยาว หัวโต จะงอยปากยาวและแหลม นัยน์ตาอยู่ใกล้กับแนวสันหัว ปากเล็ก ฟันเล็กละเอียดอยู่บนขากรรไกรทั้งสองและเพดานปาก เกล็ดเล็กและบางครีบหลังมีสองอัน อันที่สองยาวใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบหางเว้าเป็นแฉก ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องยาวและปลายแหลม ลำตัวด้านบนเป็นสีเทาหรือสีเขียวมะกอก ด้านท้องสีขาวเงินมีแถบสีเงินพาดไปตามความยาวของลำตัว ถิ่นอาศัย ตามบริเวณหน้าดินในน้ำตื้น แถบชายฝั่ง พบที่ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปู และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ที่พบทั่วไปยาว 15 – 20 ซม. ประโยชน์ ใช้เป็นอาหาร
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาแพะทองเหลือง หนวดฤาษี

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
แพะทองเหลือง หนวดฤาษี ชื่อ- แพะทองเหลือง หนวดฤาษี

ชื่อวิทยาศาสตร์- SPOTTED GOLDEN GOATFISH Parupeneus cinnabarinus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลซึ่งอาศัยอยู่บริเวณหน้าดินที่เรียกว่าปลาหน้าดิน ลำตัวค่อนข้างกลมหนวดแพะ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ปลาหนวดแพะ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีชมพูแก่และสีจะจางลงในบริเวณท้อง มีเส้นสีน้ำเงิน 4 เส้น อยู่บริเวณหัว ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหิน และบริเวณหน้าดินที่เป็นพิ้นทราย พบทั่วไปในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 12 – 15 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาดอกหมากกระโดง

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ดอกหมากกระโดง ชื่อ- ดอกหมากกระโดง

ชื่อวิทยาศาสตร์- WHIPFIN MOJARRA Gerres filamentosus

ลักษณะทั่วไป รูปร่างของลำตัวป้อมดูคล้ายรูปไข่หรืดสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบนข้าง หัวเล็กสั้น นัยน์ตาโต จะงอยปากแหลม ปากยืดหดได้ เกล็ดเล็กหลุดง่าย ตัวโตเต็มวัยก้านครีบแข็งอันที่สองของครีบหลังจะเจริญยาวเป็นเส้นเดี่ยว ครีบอกยาว ครีบหางลึกเว้ารูปส้อม สีลำตัวอมเทามีสีดำแต้มเป็นจุดประปรายท้องสีขาวเงิน ครีบทุกครีบสีเทาอมเหลือง ถิ่นอาศัย ชายฝั่งตื้นๆ ปากแม่น้ำจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง อาหาร กินสัตว์น้ำและพืชขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 11- 22 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้บริโภค
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลากะพงแดงหน้าตั้ง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
กะพงแดงหน้าตั้ง ชื่อ- กะพงแดงหน้าตั้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์- EMPEROR RED SNAPPER Lutjanus sebae

ลักษณะทั่วไป เป็นปลากะพงแดงชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็ก รูปร่างป้อมสั้น ด้านข้างแบน ส่วนของท่อนหางยาว หัวโตบริเวณหัวส่วนบนมีลักษณะลาดชัน นัยน์ตามีขนาดใหญ่ ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ปลายครีบเรียวแหลม ครีบก้นอยู่ใกล้กับคอดหางและมีส่วนปลายแหลม ครีบหูและครีบท้องมีส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีจำนวนใกล้เคียงกัน ครีบหางยาวและเว้าลึก สีจะเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของปลา ปลาที่เป็นตัวอ่อนลำตัวสีชมพูแถบสีแดงเข้ม 3 แถบ และแถบสีแดงจะเข้มขึ้นเมื่อปลาเจริญเตอบโตเต็มวัย ถิ่นอาศัย หากินอยู่ในบริเวณแนวปะการังและชายฝั่งของอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กบริเวณหน้าดิน ขนาด ขนาดที่พบทั่วไปความยาวประมาณ 30 – 60 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 1 เมตร ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารหรือทำปลาเค็มตากแห้ง
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหลังเขียวกลม โกว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
หลังเขียวกลม โกว ชื่อ- หลังเขียวกลม โกว

ชื่อวิทยาศาสตร์- ROUNDBELLY SARDINE Amblygaster clupeoides

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลผิวน้ำมีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวมีกล้ามเนื้อเป็นสันหนา ท้องแบนเป็นสันแต่ไม่มีเกล็ดโผล่ออกมาเป็นสันแข็ง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากยาว นัยน์ตาโต ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด ไม่มีเส้นข้างตัว เกล็ดค่อนข้างใหญ่ บางและหลุดง่าย ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางใหญ่เป็นแฉกลึก สีลำตัวด้านหลังมีสีน้ำเงินเข้ม ท้องเป็นสีขาวเงิน ถิ่นอาศัย อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ อพยพย้ายไปเรื่อยๆ พบไปทั่วอ่าวไทย อาหาร กินจุลพืชที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 13 – 23 ซม. ประโยชน์ ในสภาพสดใช้ในการแปรรูปคือ ปลากระป๋อง แต่ถ้าไม่สดใช้ทำอาหารปลาป่น
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาผีเสื้อข้างลาย ผีเสื้อ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ผีเสื้อข้างลาย ผีเสื้อ ชื่อ- ผีเสื้อข้างลาย ผีเสื้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์- LINEATED BUTTERFLY-FISH Chaetodon trifasciatus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาสวยงาม รูปร่างเกือบกลม ลำตัวด้านข้างแบนมาก จะงอยปากแหลม หน้าป้าน ปากเล็ก และอยู่ปลายสุด นัยน์ตาค่อนข้างเล็ก ช่องเหงือกกว้าง มีขอบด้านบนหยักเป็นหนามอันเล็กๆปลายแหลม ครีบหลังโค้งมน ประกอบด้วยก้นครีบแข็งซึ่งปลายแหลมโผล่ยื่นออกจากตัวคีบ ส่วนที่เป็นครีบอ่อนตอนปลายยาวจรดโคนหาง ครีบก้นมีลักษณะคล้ายครีบหลัง แต่มีก้านครีบแข็งมี 3 ก้านเท่านั้น ครีบหางเป็นเหลี่ยม ปลายเป็นมุม ครีบท้องอยู่ใต้ครีบหู ลำตัวด้านบนสีม่วง ท้องสีเหลืองครีบก้นสีส้ม มีแถบสีดำที่ฐานและปลายครีบ ครีบหางมีแถบสีดำข้างละแถบ ถิ่นอาศัย พบตามแนวหินปะการังและโขดหินใต้น้ำบริเวณอ่าวมะขาม ฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 10 – 15 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลาซ่อนทรายแก้ว เห็ดโคน

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ซ่อนทรายแก้ว เห็ดโคน ชื่อ- ซ่อนทรายแก้ว เห็ดโคน

ชื่อวิทยาศาสตร์- SILVER SILLAGO Sillago sihana

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลซึ่งมีลำตัวยาวเรียว ด้านข้างแบน หัวยาวเรียวจะงอยปากยาวแหลมใช้ในการขุดคุ้ยอาหาร ปากเล็กอยู่ปลายสุดและสามารถยืดหดได้ ครีบหลังมีฐานยาวและแยกออกเป็นสองอันครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกับครีบหลังอีนที่สอง ครีบอกอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางตัดตรง เกล็ดเล็กและหยาบสีลำตัวเป็นสีเนื้อ ถิ่นอาศัย หากินตามหน้าดินซึ่งมีพื้นเป็นทราย โดยจะฝังตัวอยู่ในทรายเหลือนัยน์ตาโผล่ขึ้นมาคอยจ้องจับสัตว์น้ำเป็นอาหารพบทั่วไปในอ่าวไทย อาหาร กินลูกกุ้ง ตัวหนอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 10- 30 ซม. ประโยชน์ เนื้อสีขาว มีก้างน้อย สชาติดีมาก นิยมส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศในรูปของปลาแช่แข็งนอกจากนี้ยังมาแปรรูปเป็นปลาตากแห้งโดยจะแล่เนื้อเป็นแผ่นบางๆ
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลากะพงแดงข้างแถว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
กะพงแดงข้างแถว ชื่อ- กะพงแดงข้างแถว

ชื่อวิทยาศาสตร์- BROWNSTRIPE RED SNAPPER Lutjanus vitta

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากะพงทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบนหัวโต จะงอยปากค่อยข้างยาว ปากกว้าง มีฟันแหลมคม นัยน์ตาค่อนข้างโตและใกล้แนวหลังของหัว มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ปลายจรดโคนครีบหาง ครีบหูเล็กปลายเรียวแหลม ครีบท้องอยู่ใต้ครีบหูและมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบก้นสั้น ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเว้าเล็กน้อย พื้นลำตัวด้านบนสีเหลืองอมแดง ท้องสีขาว มีแถบเล็ก ๆ สีเทาปนดำที่ข้างตัวหลายแถบเรียงเป็นแถว ครีบทุกครีบสีเหลือง ถิ่นอาศัย ชายฝั่งทะเล อาหาร กินปลาหน้าดินขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 17 – 40 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ในการบริโภค
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหัวแบนด่าง

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
หัวแบนด่าง ชื่อ- หัวแบนด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์- SPOTTED FLATHEAD Cociella crocodilus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาหน้าดินที่มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวมีขนาดใหญและยาวและแบนลาด มีหนามซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนรูปของผิวหนัง ปกคลุมอยู่ทั่วหัว ปากกว้าง นัยน์ตาค่อนข้างโต มีกระดูกเป็นหนามแหลม 3 อัน บนแก้ม เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ครีบหลังมี 2 อัน อันอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องยาวและปลายแหลม ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน สีพื้นของลำตัวเป็นมีเทาปนเขียว มีแถบสีดำเป็นบั้งอยู่ข้างตัว มีจุดสีดำเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว ครีบหลังอันแรกทีแถบสีดำ ครีบหางมีรอยแต้มสีดำเช่นกัน ถิ่นอาศัย พบบริเวณหน้าดินที่เป็นโคลนเลน พบห่างฝั่งตั้งแต่ 40 – 100 ม. พบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินสัตว์น้ำวัยอ่อน ขนาด ความยาวประมาณ 25 – 40 ซม. ประโยชน์ ใช้ปรุงอาหาร
นอกจากจะเป็นปลาทะเลที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วยนะค่ะ

ปลาแป้นยักษ์

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
แป้นยักษ์ ชื่อ- แป้นยักษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์- COMMON PONYFISH Leiognathus fasciatus

ลักษณะทั่วไป คล้ายปลาแป้นชนิดอื่นๆ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวป้อมสั้น ด้านข้างแบน ส่วนหลังโค้งนูน ปากสามารถยืดหดได้ ปากเมื่อยืดจะโค้งเล็กน้อย ครีบหูยาวจนถึงบริเวณใกล้จุดเริ่มต้นของครีบก้น ลำตัวสีบรอนด์เงินและมีแถบเล็กๆ สีดำพาดในแนวขวางลำตัว บริเวณก้านครีบหางจะมีรอยแต้มสีน้ำตาล ครีบหลัง ครีบอก ครีบหางมีสีขาวใส ส่วนครีบก้นมีสีเหลือง เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ถิ่นอาศัย ตามบริเวณพื้นท้องทะเล พบทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สุราษฎร์ธานี สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ตรัง อาหาร กินแพลงก์ตอน ลูกหนอนและสัตว์น้ำวัยอ่อนทุกชนิด ขนาด ความยาวประมาณ 13 – 25 ซม.
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลาช่อนทะเล ไฮโหลย

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
ช่อนทะเล ไฮโหลย ชื่อ- ช่อนทะเล ไฮโหลย

ชื่อวิทยาศาสตร์- COBIA Rachycentron canadus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีลำตัวค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหัวแบนลาด ครีบหลัง 2 ส่วน ส่วนหน้าเป็นครีบหนามสั้นๆไม่มีก้านครีบฝอย ส่วนหลังจะยกสูงขึ้นในตัวเต็มวัย ครีบก้นมีลักษณะเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบหางเว้าเป็นรูปวงพระจันทร์ ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องมีเส้นสีเหลือง ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายในอ่าวไทยทั้งในบริเวณน้ำลึกและชายฝั่งบริเวณกองหินปะการังและปากน้ำ อาหาร กินกุ้ง กั้งและปลา ขนาด โดยทั่วไปมีความยาว 80 – 100 ซม.ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาวถึง 180 ซม. ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงอาหาร หรือตากแห้ง เป็นปลาที่สู้เบ็ด นิยมตกเป็นเกมกีฬา
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงแดงเกล็ดห่าง

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
กะพงแดงเกล็ดห่าง ชื่อ- กะพงแดงเกล็ดห่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์- JOHN’S SNAPPER Lutjanus johnii

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาหน้าดินซึ่งมีลำตัวป้อม ด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากยาวและค่อนช้างแหลมนัยน์ตาโตอยู่ใกล้แนวสันหัว ปากกว้าง มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรบนล่าง ถิ่นอาศัย ป่าไม้ชายเลนและชายฝั่งทะเล อาหาร กินสัตว์น้ำหน้าดิน ขนาด ความยาวประมาณ 30 – 60 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหางเหลือง

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
หางเหลือง ชื่อ- หางเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์- YELLOWTAIL FUSILIER Caesio erythrogaster

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างป้อม ลำตัวและหาวยาวเรียว หัวโตและโค้งนูน บริเวณปลายจะงอยปากเว้าลง นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากเล็กและเฉียงขึ้น ครีบหลังยาวปลายจรดโคนหาง ครีบก้นมีปลายยาวจรดโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ครีบหูและครีบท้องมีปลายเป็นมุมแหลม ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายทั่วอ่าวไทย อาหาร กินลูกปลาขนาดเล็กและเนื้อสัตว์ ขนาด ความยาวประมาณ 40 – 60 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาให้เป็นอาหาร
แนะนำ ติชมเข้ามาได้นะค่ะ

ปลาแป้นเขี้ยว

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
แป้นเขี้ยว ชื่อ- แป้นเขี้ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์- TOOTHED PONYFISH Gazza minuta

ลักษณะทั่วไป มีลำตัวป้อมสั้นเป็นสีบรอนด์เงิน ด้าวข้างแบน นัยน์ตาโต ปากเล็ก ปากสามารถยืดหดได้คล้ายปลาแบบทั่วๆไป มีฟันเขี้ยวตรงบริเวณริมฝีปากบนและล่าง บริเวณลำตัวมีเกล็ดเล็กแต่ส่วนหัวและใต้ครีบหูไม่มีเกล็ด ครีบหลังมีก้านครีบแข็งและต่อด้วยก้านครีบอ่อนเช่นเดียวก้น ครีบหางเว้าแฉกเข้าด้านใน ส่วนบนของลำตัวจะมีลายเส้นสีน้ำตาลทองและมีรอยแต้มสีแดงและน้ำเงิน บริเวณครีบอกครีบก้นจะมีแถบสีเหลืองอยู่ตรงบริเวณตรงส่วนหน้าของครีบ ถิ่นอาศัย พบทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น ที่บางปะกง ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต ระนอง พังงา อาหาร กินแมลงและหนอนรวมทั้งแพลงก์ตอน ขนาด ความยาวประมาณ 6 – 12 ซม.
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาเฉลียบ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
เฉลียบ ชื่อ- เฉลียบ

ชื่อวิทยาศาสตร์- YELLOW QUEENFISH Scomberoides lysan

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลในกลุ่มปลาสีกุนหรือปลาหางแข็ง รูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างมาก หัวโต หน้าแหลม นัยน์ตาโต อยู่ใกล้ปลายจะงอยปาก ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มุมปากยื่นเลยหลังตาเกล็ดมีรูปร่างเหมือนเข็มและฝังจมอยู่ในเนื้อ ครีบหลังแยกเป็นสองอัน ข้างตัวและท้องมีสีเหลืองมีจุดกลมดำ 2 แถว ด้านข้างตัวแถวบนมีขนาดใหญ่กว่าแถวล่าง ปลายครีบหลังอันที่สองมีแถบดำ ถิ่นอาศัย ชายฝั่งทะเลในระดับไหล่ทวีป เป็นปลาอยู่ผิวน้ำ อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ จำพวกกุ้ง ปู ขนาด ความยาวประมาณ 20- 50 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื้อปลามีรสชาติดีเมื่อทำเป็นปลาเค็ม
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงเขียว

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
กะพงเขียว ชื่อ- กะพงเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์- GREEN JOBFISH Aprion virescens

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากยาวปลายมน นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้ช่องเปิดเหงือก ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวที่แหลมคมท่อนหางยาวเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนของก้านครีบแข็งและอ่อนติดเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหางเว้าเป็นแฉกกว้าง ปลายแฉกเรียวแหลม พื้นลำตัวมีสีเขียวปนน้ำเงิน ท้องสีขาวปนเทาจาง ๆ ถิ่นอาศัย เป็นปลาอาศัยอยู่ตามหน้าดิน บริเวณเกาะแก่ง ปะการัง ในระดับน้ำลึกไม่เกิน 100 ม. พบส่วนมากในฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก ขนาด ความยามประมาณ 60 – 80 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหางแข็งบั้ง

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
หางแข็งบั้ง ชื่อ- หางแข็งบั้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์- BANDED CREVALLE Atule mate

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลซึ่งมีลำตัวยาว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากยาวและแหลม นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันหุ้มอยู่ ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเล็ก บนขากรรไกร เกล็ดเส้นข้างตัวแข็ง โดยเฉพาะส่วนหางดูเป็นสันแข็งกว่าส่วนอื่น ๆ ครีบหลังมีสองอัน แยกเป็นอิสระจากกัน อันแรกเป็นรูปสามเหลี่ยมอันที่สองตอนหน้าสูงแหลม ตอนท้ายสุดจรดโคนหาง ครีบก้นยาวปลายจรดโคนหาง เช่นกัน ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วงท้องสีขาว มีแถบสีเทาจางๆ พาดตัวลายใหญ่บ้างเล็กบ้างสลับกัน ครีบต่างๆ สีเหลือง ถิ่นอาศัย อยู่ตามทะเลเปิดทั่วไป อาหาร กินปลา กุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 13 – 30 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี นิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็ม
ได้ความรู้กันแล้วก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาปากคมปีกสั้น ตุ๊กแก

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
ปากคมปีกสั้น ตุ๊กแก ชื่อ- ปากคมปีกสั้น ตุ๊กแก

ชื่อวิทยาศาสตร์- SHORTFIN LIZARDFISH Saurida micropectoralis

ลักษณะทั่วไป รูปร่างเรียวยาวคล้ายรูปทรงกระบอก ลำตัวค่อนข้างกลม บริเวณส่วนหัวมีลักษณะคล้ายปลาช่อนน้ำจืดหรือคล้ายหัวตุ๊กแก จึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “ปลาตุ๊แก” ปากกว่างมีฟันซี่เล็กเรียงเป็นแถวเห็นได้ชัดเจน ครีบหลังมี 2 ครีบ คือครีบธรรมดา และครีบไขมันซึ่งยาวเป็นติ่งใหล้บริเวณโคนหางมีครีบหูสั้น ยาวไม่ถึงครีบท้อง บริเวณส่วนบนของลำตัวมีสีน้ำตาล ด้านล่างมีสีขาว ถิ่นอาศัย มีอยู่ทั้วไปในบริเวณอ่าวไทยนับตั้งแต่จังหวัดระยอง ชลบุรี ชุมพร สงขลา ภูเก็ต ระนอง และในทะเลอันดามันชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเลซึ่งมีลักษณะเป็นโคลนหรือทรายปนโคลน โดยปกติเป็นปลาที่ชอบทรงตัวนิ่งอยู่กับที่ เวลาเคลื่อนตัวไปบนพื้นทะเลจะใช้ครีบท้องค้ำยันและผลักตัวไปข้างหน้า ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาหาร กินพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและลูกปลาตัวเล็ก ๆ ขนาด ความยาวประมาณ 17 – 50 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลาฉลามหัวค้อนสั้น อ้ายแบ้สั้น

วันนี้ขอนำเสนอปลาทะเลที่น่าสนใจอีกพันธุ์คือ
ฉลามหัวค้อนสั้น อ้ายแบ้สั้น ชื่อ- ฉลามหัวค้อนสั้น อ้ายแบ้สั้น

ชื่อวิทยาศาสตร์- SQUAT-HEADED HAMMER HEAD SHARK Sphyrna lewini

ลักษณะทั่วไป รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหนูใหญ่ ลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบหู พื้นลำตัวสีเทา หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย ถิ่นอาศัย หากินตั้งแต่กลางน้ำไปถึงหน้าดิน พบในอ่าวไทย อาหาร กินสัตว์น้ำทุกชนิด ขนาด ความยาวประมาณ 50- 100 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ ครีบต่างๆ ใช้ทำหูฉลาม
ได้รู้ที่มาที่ไปแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

ปลากะพงขาว กะพงน้ำจืด

วันนี้จะมาแนะนำปลาอีกสายพันธุ์นะค่ะ นั่นคือ
กะพงขาว กะพงน้ำจืด ชื่อ- กะพงขาว กะพงน้ำจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์- GIANT SEAPERCH Lates calcarifer

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำกร่อยที่มีรูปร่างยาว ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลมขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสามือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน ถิ่นอาศัย ชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำกร่อย อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหาอาหารและอาศัยในแม่น้ำเป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร อาหาร กินปลา กุ้งและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยามประมาณ 20 – 40 ซม. ประโยชน์ เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท
เห็นอย่างนี้แล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาหางกิ่วหม้อ

ปลาอีกชนิดที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ น่าสนใจมากค่ะ ลองมาดูพร้อมๆ กันเลยนะค่ะ
หางกิ่วหม้อ ชื่อ- หางกิ่วหม้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์- DUSKY JACK Caranx sexfasciatus

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลประเภทปลาหางแข็งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหทือนปลาสีกุนทั่วๆไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างตัวมีขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหางจึงเรียกว่า ปลาหางแข็งตาโตอยู่เกือบสุดท้ายจะงอยปาก ครีบหูยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้นอันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว ถิ่นอาศัย ตามทะเลเปิดทั่วไป บางครั้งจะเข้ามาอาศัยอยู่ตามโป๊ะ อยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากบริเวณช่องเกาะคราม แสมสาร เกาะเต๋าและทะเลอันดามัน อาหาร กินปลาขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 40 – 60 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลามีรสดี ใช้ปรุงอาหารได้
ได้ความรู้กันแล้ว ต้องช่วยกันอนุรักษ์ปลาทะเลของไทยกันนะค่ะ